ไวร์เมชแบบม้วนและไวร์เมชแบบแผง แตกต่างกันอย่างไร

mfg

แชร์ให้เพื่อน

ไวร์เมชแบบม้วนและไวร์เมชแบบแผง แตกต่างกันอย่างไร?

ไวร์เมชแบบม้วนและไวร์เมชแบบแผง

หลายๆ คนคงสงสัยว่าไวร์เมชนั้น ทำไมต้องมีทั้งแบบม้วนแล้วแบบแผง และมันมีความแตกต่างกันอย่างไร เราลองมาดูกันครับ

1. ขนาดของเส้นลวดไวร์เมช

โดยปกติ ไวร์เมชนั้น จะมีขนาดของเส้นลวด ตั้งแต่ 3 – 12 มม. ซึ่งขนาดของเหล็กเส้นไวร์เมชนั้น ถ้าเป็นเส้นเล็ก 3-4 มม. แบบนี้ ส่วนใหญ่จะนิยมทำเป็นม้วน แต่ถ้าใหญ่กว่า 4 มม. เช่น 5- 12 มม. จะนิยมทำเป็นแผง

 

2. ขนาดของตะแกรง

เนื่องด้วยไวร์เมชที่เหล็กเส้นใหญ่ จะไม่สามารถม้วนได้ จึงต้องทำเป็นแผง ปกติไวร์เมชแบบม้วน จะมีขนาด 2*50 ม. และ 2*25 ม. แต่หากมีปริมาณการใช้งานที่มากๆ เช่นเป็น พันหรือหมื่น ตารางเมตร ก็สามารถให้โรงงานสั่งตัดได้

ไวร์เมชแบบแผง ส่วนใหญ่จะเป็นไวร์เมชที่เหล็กเส้นมีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 6 มม. ขึ้นไป โดยมีขนาดแผง ปกติ ที่ 3*6 ม. และ 3*10 ม. แต่หากสั่งเป็นพันหรือหมื่นตารางเมตร ก็สามารถสั่งตัดตามความต้องการ ได้เช่นกัน

 

3. การขนส่ง

เนื่องด้วยตะแกรงไวร์เมช ปบบม้วนนั้น ขนส่งได้ง่ายและสะดวกกว่า สามารถใช้รถกระบะ หรือรถบรรทุกทั่วไป ขนส่งได้เลย แต่ไวร์เมชแบบแผงอาจจะต้องใช้รถบรรทุกที่ใหญ่ขึ้นเพื่อขนส่ง อาจจะเป็นรถเทรลเลอร์และขนส่ง โดย

 

4. การใช้งาน

เนื่องจากขนาดลวดมีการรับแรงที่ต่างกัน ลวดเส้นเล็กรับแรงได้น้อย ลวดเส้นใหญ่รับแรงได้มากขึ้น ดังนั้นการใช้งานจึงเลือกตามขนาดเหล็กเส้น เช่น เหล็กเส้น 3-4 มม. จะใช้กับบ้าน หรืองานที่รับแรงไม่มาก แต่ถ้าเป็นงานที่รับแรงมากก็จะ เลือกใช้ไวร์เมชที่ลวดเส้นใหญ่ขึ้น เช่น โกดังที่เลือกใช้ลวด 9 มม. หรือ ถนนในบ้านหรือลาน ก็ใช้ 6 มม. แต่อย่างไรก็แล้วแต่ การเลือกใช้งาน ควรปรึกษาช่างหรือวิศวกรที่คุมงาน

โดยการเลือกใช้งานไวร์เมช สามารถศึกษาได้จากลิงค์นี้ครับ เลือกซื้อไวร์เมชอย่างไร?


สรุปความแตกต่างของไวร์เมชแบบม้วนและไวร์เมชแบบแผง

  • ขนาดของเส้นลวด ไวร์เมชแบบม้วนจะเล็กกว่าไวร์เมชแบบแผง พราะต้องมีการม้วน หากลวดเส้นใหญ่จะม้วนไม่ได้ และต้องทำเป็นแบบแผง
  • ขนาดของตะแกรง  ตะแกรงไวร์เมชแบบม้วน จะยาวกว่าไวร์เมชแบบแผง เพราะม้วนเป็นขดได้
  • การขนส่ง ตะแกรงไวร์เมชแบบม้วน ขนส่งได้ง่ายกว่าไวร์เมชแบบแผงเพราะม้วนเป็นขด แล้วสามารถส่งได้ง่าย
  • การใช้งาน ตะแกรงไวร์เมชแบบม้วนต้องคลี่ก่อนปู ส่วนตะแกรงไวร์เมชแบบแผง ใช้ในพื้นที่ต้องการความแข็งแรงและรับน้ำหนักได้มากกว่า 
ไวร์เมชแบบแผง

 

ไวร์เมชแบบม้วน

แชร์ให้เพื่อน