จำหน่ายลวดผูกเหล็ก มาตรฐานอุตสาหกรรม สินค้าพร้อมส่ง
เป็นลวดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดประมาณ 1.2 – 1.35 มม. ขั้นตอนการผลิต ผลิตโดยการนำเหล็กลวด (Wire rod) รีดลดขนาดด้วยกระบวนการรีดเย็นตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 138-2535 ) นำมาอบด้วยเตาไฟฟ้า การอบด้วยเตาไฟฟ้าจะทำให้ลวดนิ่มและเหนียว เหมาะสำหรับงานมัดหรือผูกเหล็กคานเสริมคอนกรีต และช่วงต่อเหล็กเส้นตามจุดเชื่อมเพื่อยึดเหล็กให้ติดกันเพิ่มความแข็งแรง
ลวดผูกเหล็ก
ลวดผูกเหล็ก คือ ลวดเหล็กที่อบด้วยกรรมวิธีอบอ่อน (annealing) ไม่เคลือบสังกะสีมีขนาดเดียว คือเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.25 มิลลิเมตร จะทำเป็นมัดๆ แต่ละมัดต้องหนักประมาณ 30-40 กิโลกรัม ในหนึ่งมัดหนึ่งต้องมีไม่เกิน 6 ขด ลวดเหล็กหรือลวดผูกเหล็กชนิดนี้จะมีคุณสมบัติต้านทานต่อแรงดึงไม่น้อยกว่า 30 กิโลกรัมต่อ ตร.มิลลิเมตร (300 นิวตัน ต่อตร.มิลลิเมตร)
และสามารถทนการบิดได้ต่ำสุด 75 รอบ ลวดแต่ละมัดจะต้องแสดงชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของโรงงานที่ผลิต น้ำหนักสุทธิ และวัน เดือน ปี ที่ผลิตไว้บนฉลากที่ติดอยู่กับลวดทุกมัด เช่นเดียวกับลวดเหล็กสำหรับงานคอนกรีตอัดแรง การใช้งานลวดชนิดนี้นิยมใช้กับงานผูกเหล็กเสริมคอนกรีต เช่น เหล็กเสริมพื้น เหล็กปลอกคาน หรือ ปลอกเสา เป็นต้น จึงเป็นที่มาของชื่อ ลวดผูกเหล็กคือเอาไว้ผูกเหล็กนั่นเอง
ลักษณะการใช้งาน
เหมาะสำหรับงานผูกเหล็กก่อสร้าง งานคอนกรีตเสริมเหล็ก และใช้ผูกรัดสินค้า ในปัจจุบันนั้นมีการใช้ ลวดตัดสำเร็จ แต่ใช้งานไม่สะดวก เนื่องจากขนาดที่ใช้งานจริงมีหลากหลาย ไม่พอดีกับความยาวที่กำหนดไว้ตายตัว ใช้ผูกเหล็กเส้น เพื่อยึดให้เป็นตาราง เพื่อเทพื้นคอนกรีต หรือใช้มัดสิ่งของต่างๆ ปกติลวดผูกเหล็กที่ใช้ในท้องตลาด ตามมาตรฐานการก่อสร้างของไทย ใช้ลวดเบอร์ 18 ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.25 มิลลิเมตร
คุณสมบุติของลวดผูกเหล็กที่ดี
- แข็งแรง ทนทาน เหนียว นิ่ม ผูกได้ง่ายและรวดเร็ว
- ลวดมีชนาดประมาณ 1.25 มม.
- มีน้ำหนักประมาณ 2.5-3 กก. / ขด
- ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ผูกเหล็กต่างๆ
- อายุการใช้งานยาวนาน ขึ้นสนิมยาก
การเลือกลวดผูกเหล็ก
เลือกเหล็กที่ผูกง่ายไม่นิ่มและเปราะจนเกินไป เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ควรเลือกใช้ลวดผูกเหล็กเบอร์ 18 ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.25 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการก่อสร้างของไทย
การผูกเหล็กแบบง่ายๆ
* เทคนิคการผูกเหล็กแบบง่ายๆ และรวดเร็วดูได้จากบทความนี้ครับ
https://www.tpkrungrueangkit.com/2017/03/06/เทคนิคการผูกเหล็กแบบใช/