การใช้ไวร์เมชกับการผูกเหล็กเทพื้น มีข้อดี-ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร
คือ ตะแกรงเหล็กเทพื้นสำเร็จรูป สำหรับนำไปปูก่อนเทพื้นคอนกรีต เป็นเหล็กตะแกรงที่ผลิตมาจากโรงงาน สำหรับงานเทพื้นโดยเฉพาะ มีใ้ห้เลือกใช้งาน ทั้งไวร์เมชแบบม้วน และไวร์เมชแบบแผง ซึ่งผลิตจากเหล็กเส้นขนาดต่างๆ เช่น เหล็ก 3.2 mm., 4 mm. , 6 mm. , 9 mm. , 12 mm. เป็นต้น
โดยตะแกรงเหล็กเทพื้นสำเร็จรูป หรือไวร์เมช เป็นตะแกรงที่ผลิตมาพร้อมใช้งานสะดวก และใช้งานได้เลย
ทั้งนี้ การเลือกใช้งานไวร์เมช ต้องดูความเหมาะสมทั้งการใช้งานของพื้น เช่น พื้นเป็นพื้นบ้านธรรมดา หรือ ถนนคอนกรีต หรือพื้นโกดัง ซึ่งจะต้องใช้ไวร์เมช สปคที่ต่างกัน ตามการคำนวณของวิศวกร
ข้อมูลเพิ่มเติม : ตะแกรงไวร์เมช
เหล็กเทพื้น หรือ เหล็กตะแกรงเทพื้น แบบผูกเหล็กเอง
เป็นการผูกเหล็กเส้นเป็นตะแกรงโดยใช้เหล็กเส้นตามความเหมาะสม หรือตามการคำนวณของช่าง การผูกเหล็กตะแกรงเทพื้น เป็นวิธีการทำตะแกรงเพื่อปูก่อนเทคอนกรีต ที่ทำมานาน ตั้งแต่ก่อนมีการผลิตไวร์เมช
โดยขั้นตอนการผูกตะแกรงเทพื้น คือ การน้ำเหล็กเส้น มาวางเพื่อทำเป็นตะแกรง แล้วใช้ลวดผูกเหล็กผูกเหล็กให้แน่นเป็นตะแกรง แล้วใช้งานเทคอนกรีตทับ โดยการผูกเหล็กจะผูกในพื้นที่หน้างานเลย ไม่สามารถขนย้ายเหล็กที่ผูกแล้วไปที่อื่นได้
ในการเทพื้นคอนกรีต จะมีการวางตะแกรงเทพื้น โดยมีเหล็กตะแกรง 2 แบบให้เลือกใช้ คือ ตะแกรงไวร์เมช กับ การผูกตะแกรงเหล็กเอง เรามาดูการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของการใช้ไวร์เมชสำเร็จ กับการผูกตะแกรงเหล็กเอง ว่าดีเสีย แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย การใช้ไวร์เมชกับการผูกเหล็กเทพื้น
เปรียบเทียบตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูปกับการผูกตะแกรงเหล็กเอง
หัวข้อเปรียบเทียบ | ตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูป | การผูกตะแกรงเหล็กเอง |
---|---|---|
ความแข็งแรง | ได้มาตรฐานจากโรงงาน โครงสร้างแน่นหนาเท่ากันทุกจุด | ความแข็งแรงขึ้นอยู่กับฝีมือช่างในการผูกเหล็ก อาจมีความคลาดเคลื่อน |
ความรวดเร็วในการติดตั้ง | ติดตั้งได้เร็ว เพียงปูลงพื้นแล้วเทคอนกรีตได้เลย | ใช้เวลานาน ต้องผูกเหล็กทีละเส้น โดยใช้ลวดผูกเหล็ก |
ต้นทุนค่าแรง | ค่าแรงถูกกว่า เพราะติดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้ช่างฝีมือสูง ผลิตสำเร็จจากโรงงาน | ค่าแรงแพงกว่า เพราะใช้เวลานานและต้องการช่างที่มีฝีมือ |
ต้นทุนวัสดุ | ราคาสูงกว่าการซื้อเหล็กเส้นมาผูกเอง | ถูกกว่าเพราะซื้อเหล็กเส้นมาใช้งานเอง |
ความสะดวกในการขนส่ง | เป็นม้วนหรือแผ่นสำเร็จรูป ขนย้ายสะดวก | ขนส่งยาก เพราะเป็นเหล็กเส้นยาว ต้องผูกและมัดให้ดี หรือไม่สามารถขนย้ายได้เลย |
ความแม่นยำของระยะห่างเหล็ก | ระยะห่างของตะแกรงเป็นมาตรฐาน มีมาตรฐานที่ผลิตจากโรงงาน | ระยะห่างอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการผูกของช่าง |
ความยืดหยุ่นในการใช้งาน | มีขนาดและระยะห่างให้เลือก แต่ไม่สามารถปรับแต่งตามหน้างานได้ง่าย ต้องสั่งผลิตระยะห่างที่ต้องการจากโรงงาน | ปรับแต่งระยะห่างและรูปแบบได้ตามต้องการ |
ความทนทานต่อการใช้งาน | เชื่อมติดแน่น ไม่หลุดง่าย ใช้งานได้นาน | หากผูกเหล็กไม่แน่น อาจเกิดการคลายตัวได้ |
การใช้งานที่เหมาะสม | เหมาะสำหรับงานเทพื้นคอนกรีตขนาดใหญ่ เช่น ลานจอดรถ พื้นโรงงาน หรืองานที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว | เหมาะกับงานที่ต้องการความยืดหยุ่น เช่น งานเสริมโครงสร้างพิเศษ |
ความเรียบร้อยของงาน | ได้มาตรฐานและเรียบร้อยกว่า | อาจไม่เรียบร้อย หากช่างไม่ชำนาญในการผูกเหล็ก |
สรุป
– ตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูป เหมาะกับงานที่ต้องการความรวดเร็ว มีมาตรฐานสูง ลดค่าแรง แต่ราคาวัสดุสูงกว่า
– การผูกตะแกรงเหล็กเอง เหมาะกับงานที่ต้องการปรับแต่งเฉพาะจุด ลดต้นทุนวัสดุ แต่ต้องใช้เวลาและค่าแรงมากกว่า
หากต้องการเทพื้นขนาดใหญ่และเน้นความรวดเร็ว แนะนำให้ใช้ ตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูป
แต่ถ้าต้องการความยืดหยุ่นและประหยัดงบ การผูกตะแกรงเหล็กเอง อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า
✅ เลือกตะแกรงไวร์เมช
- เหมาะสำหรับงานเทพื้นที่ต้องการ ความรวดเร็ว มีมาตรฐานสูง
- ใช้กับพื้นขนาดใหญ่ เช่น ลานจอดรถ พื้นโกดัง โรงงาน ถนน
- ลดค่าแรง และได้งานเรียบร้อยกว่าการผูกตะแกรงเอง
- เหมาะสำหรับงานเทพื้นทุกชนิด
✅ เลือกตะแกรงผูกเอง
- เหมาะสำหรับงานที่ต้องการ ความยืดหยุ่นและปรับแต่งหน้างานได้
- ใช้กับพื้นขนาดเล็กหรือซับซ้อน เช่น พื้นบ้าน งานเสริมโครงสร้างเฉพาะจุด
- ประหยัดค่าวัสดุ แต่ต้องใช้ช่างฝีมือดี
ข้อมูลเพิ่มเติม การเลือกใช้ไวร์เมช